top of page

ขั้นตอนง่ายๆในการวางแผนแต่งงาน

24Nov2013-1@SampranRiverside_0569+.jpg

การแต่งงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ ดังนั้นเมื่อคนสองคนได้ตัดสินใจตกลงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันแล้วนั้น 

สิ่งที่เข้ามาหลังจากนี้คือการหาข้อมูลในการจัดงานแต่งงาน ซึ่งการลำดับขั้นตอนในการจัดงานแต่งงานนั้น ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

โดยเฉพาะในสังคมไทย ที่มีวัฒนธรรมสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลสมัยได้เช่นกัน

แต่สิ่งสำคัญคือการลำดับขั้นตอนสำคัญให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การหลั่งน้ำสังข์ การรับไหว้ผู้ใหญ่ ยังคงอยู่เช่นเดิม

 

การลำดับขั้นตอนการจัดงานแต่งงาน ดังต่อไปนี้


1. การหาฤกษ์แต่งงาน วันเวลาที่เป็นมงคลเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการตัดสินใจในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ดังนั้นการเลือกวันที่เหมาะสมและเป็นมงคลย่อมส่งผลดีต่อคู่สมรส การหาฤกษ์แต่งงานนั้น สามารถหาได้จากวันในปฏิทินจีนหรือจากหมอดูฤกษ์และซินแส เมื่อได้วันและฤกษ์พิธีการแล้วก็มาเตรียมตัวในการหาข้อมูลอื่นๆกันต่อค่ะ

 

2. การรวบรวมรายชื่อแขกทั้งสองฝ่าย แขกผู้ใหญ่ถือเป็นบุคคลสำคัญของงานแต่งงาน เพราะเป็นคนที่พ่อแม่ของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวนับถือต้องมางานแต่งงานของคุณแน่นอน ซึ่งในพิธีการฉลองมงคลสมรสจะไว้ที่กลุ่ม VIP ส่วนรายชื่อเพื่อนสนิท เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนร่วมงาน ก็ควรจัดแยกไว้ว่าเป็นแขกของใครเช่นกันค่ะ

 

3. การหาสถานที่ในการจัดงานแต่งงาน ปัจจุบันนี้มีสถานที่จัดงานแต่งงานมากมายให้เลือกกันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรือนไทยโบราณ เรือนไทยประยุกต์ โรงแรม สมาคม  พิพิธภัณฑ์ รีสอร์ท ซึ่งในส่วนนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการและดูแลความเรียบร้อยภายในงาน

 

4. Wedding Planner สำหรับในส่วนของเรื่องพิธีการงานเช้า การจัดงานขันหมาก ขบวนขันหมาก นายพิธี พิธีสงฆ์ ซึ่งนี้หากเราให้เวดดิ้งแพลนเนอร์จัดการรับผิดชอบในส่วนงานเช้าไปจะช่วยให้คู่บ่าวสาว จัดเตรียมงานในส่วนอื่นๆได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

5. หาชุดแต่งงาน รองเท้า เครื่องประดับ การเลือกชุดแต่งงานล่วงหน้าก่อนวันงาน สามเดือน ถือว่าเป็นช่วงเวลากำลังพอดีนะคะ ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินและมีเวลาให้คู่บ่าวสาวได้ตัดสินใจเลือก หาร้านที่ดี ในราคาที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้ค่ะ

 

6. หาช่างภาพ ช่างแต่งหน้า วิดีโอวันงาน วันแต่งงานที่เป็นฤกษ์ดี มักจะเป็นวันที่ซ้ำกันกับคู่อื่นๆ ดังนั้นการจองช่างแต่งหน้าช่างภาพ ในวันงาน เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะช่างภาพที่เราสนใจในผลงานอาจจะมีคู่แต่งงานอื่นจองตัวไปแล้ว การจองล่วงหน้าไว้ในแพลนจึงเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ

 

7. ถ่ายพรีเวดดิ้ง พรีเซนเทชั่น หลังจากที่เตรียมตัวในส่วนอื่นๆในการจัดงานแต่งงานเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการหาข้อมูลถ่ายพรีเวดดิ้ง ซึ่งคู่ว่าที่เจ้าบ่าว เจ้าสาว สามารถเดินเข้าร้านสตูดิโอเพื่อเลือกซื้อแพคเกจถ่ายภาพหรือเลือกช่างภาพอิสระก็ได้เช่นกันและในส่วนการถ่ายพรีเซนเทชั่นนั้น ก็สามารถเตรียมดำเนินการต่อหลังจากได้เลย โดยในส่วนของพรีเซนเทชั่นก็จะมีรูปแบบให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน การนั่งสัมภาษณ์ การถ่ายแบบมีบทภาพยนตร์ การเล่าประวัติความเป็นมาของทั้งสองฝ่ายค่ะ สำหรับระยะเวลาในการเตรียมงาน จะอยู่ที่ประมาณ 2 เดือนค่ะ

8. เตรียมการ์ดแต่งงาน ของชำร่วย ของรับไหว้ เมื่อลิสต์รายชื่อแขกเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการจัดหาและเตรียมการ์ดแต่งงาน ของชำร่วยและของรับไหว้ ซึ่งจำนวนการ์ดแต่งงานต้องสัมพันธ์กับจำนวนของชำร่วยในวันงานด้วยนะคะ

9. อาหารจัดเลี้ยงและการตกแต่งภายในงาน การเลือก Catering ที่ใช้ในงานแต่งงานต้องคำนึงถึงจำนวนแขกภายในงาน เป็นหลักเนื่องจากจะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในการจัดงานแต่งงานค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับขั้นตอนการเตรียมการจัดงานแต่งงานที่ทาง Weddinglist ลิสต์ข้อมูลไว้ให้คู่ว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวได้ จัดการลำดับการเตรียมตัวสำหรับการจัดงานแต่งงาน ซึ่งทั้งนี้จะเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เพื่อให้คู่บ่าวสาวให้วางแผนกันนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.weddinglist.co.th/blog/9ขั้นตอนแต่งงาน/

9Dec2012@Pullman_1914+.jpg

การแต่งงานบางครั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร รวมไปถึงเวลาที่เร่งรีบที่ทุกคนจะต้องแข่งขันกันทำงาน

จึงทำให้หลายคนอาจจะใช้วิธีเพียงแค่จดทะเบียนสมรสและทำบุญเล็กน้อยๆ เพื่อเป็นประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไป

หรือบางคู่อาจจะเลือกวิธีการสมรสหมู่ที่เราพอจะเห็นมีจัดขึ้นกันในปัจจุบัน

แต่ก็ยังมีอีกหลายคู่ที่ยังยึดหลักตามขนบธรรมเนียมและประเพณีดั่งเดิม

มีเงินทุนพอที่จะจัดงานพิธีมงคลสมรสอาจจะเป็นแบบเรียบง่าย หรือหรูหราอลังการ

ก็ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของแต่ละคู่เป็นสำคัญ เพราะบางครั้งเรายังอาจจะเห็นว่านอกจากพิธีมงคลสมรสแล้วยังมีพิธีหมั้น

พิธีฉลองสละโสด และพิธีฉลองสมรสหลังจากพิธีสมรส แบบนี้ก็มีให้เห็นกันได้ในปัจจุบัน

และสำหรับความสำคัญของพิธีแต่งงานนั้น พอจะสรุปได้ดังนี้

1. เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักที่ฝ่ายชายมีต่อฝ่ายหญิง และอยากทำให้ทุกอย่างถูกต้องตามแบบแผนประเพณีดั่งเดิมที่ทำสืบทอดต่อกันมา รวมถึงบางครั้งก็จะมีการจดทะเบียนสมรสกันในวันแต่งงาน พูดได้ว่าอยากให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งตามแบบประเพณีและกฎหมาย เพื่อเป็นสิริมงคลของการเริ่มต้นการใช้ชีวิตคู่

2. เป็นการช่วยอนุรักษ์และรักษาขนมธรรมเนียมประเพณีดีๆ ของคนไทยเราที่มีสืบทอดต่อกันมาให้ยังคงอยู่สืบต่อไป

3. เป็นประเพณีที่เหมือนเป็นการแสดงความขอบคุณต่อบิดามารดา หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้อบรมเลี้ยงดูมาแต่เล็กแต่น้อย

4. เป็นการประกาศให้ผู้คนทั่วไปใกล้ชิด ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหาย ทราบถึงการประกาศที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว

5. เป็นงานที่ทำให้ฝ่ายหญิงรู้สึกภาคภูมิใจต่อฝ่ายชาย และพร้อมที่จะฝากชีวิตไว้ เพราะงานแต่งงานสำหรับผู้หญิงแล้วจะถือว่าเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งในชีวิตกันเลยทีเดียว

 

การจัดพิธีแต่งงานยังจัดเป็นพิธีที่ควรมีสำหรับหนุ่มสาวที่กำลังคิดจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

หลายคนอาจจะมองว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่สะดวกในการจัดพิธี เพราะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุ

แต่จริงๆ แล้วเราสามารถเลือกจัดพิธีที่เป็นแบบเรียบง่าย เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ และเลี้ยงขอบคุณเฉพาะแขกผู้ใหญ่

หรือคนภายในครอบครัว เพื่อถือเป็นสิริมงคลที่ดีของการเริ่มต้นชีวิตคู่

พิธีแต่งงานจัดเป็นพิธีสำคัญพิธีหนึ่งสำหรับคู่บ่าวสาวที่กำลังคิดจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

เพราะเป็นพิธีที่เหมือนเป็นการแสดงความขอบคุณต่อบิดามารดาที่อบรมเลี้ยงดูจนเติบโตมาจนทุกวันนี้

และยังเป็นพิธีที่เหมือนเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีดีๆ เอาไว้อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก www.sanook.com/women/81681/

22May2013@MiracleGrand_0168+.jpg

ความรักอาจไม่ใช่เรื่องของเงินทอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแต่งงานและการสร้างครอบครัวนั้นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยเลยล่ะครับ การวางแผนแต่งงานจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคู่รักทุกคู่ที่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อม โดยเริ่มจากการวางแผนการเงินก่อนแต่งงาน ทั้งค่าใช้จ่ายระยะสั้นอย่างการจัดงานแต่งงาน และค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังจากเป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว

แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ค่าใช้จ่ายระยะสั้นที่ต้องเตรียมในการแต่งงานกันก่อนครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่อาจต้องใช้เวลาเก็บออมกันล่วงหน้าหลายปีเลยทีเดียว

 

1. ตั้งงบไว้ บนความต้องการที่เป็นไปได้


การแต่งงาน ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ก็ต้องมีการ “ตั้งงบประมาณ” ไว้ก่อนเพื่อให้เราได้วางแผนล่วงหน้าซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลาย และทำให้เรารู้ตัวว่าแต่ละเดือนทั้งคู่ต้องเก็บเงินเท่าไหร่เพื่อให้ถึงเป้าหมายนั้น ต้องใช้เวลาเก็บเงินกี่ปี โดยแนะนำว่าในขั้นตอนนี้ควรคุยกันเพื่อให้ทราบความต้องการและ “ความคาดหวัง” ของกันและกัน

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้คุยกันเรื่องความคาดหวังของแต่ละฝ่ายแล้ว กางแผนค่าใช้จ่ายและรายได้ออกมา เราตั้งงบไว้ว่า จะจัดงานที่เชิญแขกไม่เกิน 200 คน ไม่ใช้ออแกไนเซอร์ มีเงินช่วยเหลือสมทบจากผู้ใหญ่บ้าง แผนการเงินที่ได้หน้าตาจะออกมาประมาณนี้ครับ

Download here

12Nov2011-1@BuayBig_0051+.jpg

จะเห็นได้ว่า ทั้งคู่ต้องใช้เวลาเก็บเงินประมาณ 3.3 ปี โดยเก็บเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 10,000 บาท ( เท่ากับเก็บเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน ) ซึ่งในแผนนี้ ในช่องค่าใช้จ่ายควรมีค่าใช้จ่ายสำรองด้วย เผื่อไว้ในยามฉุกเฉินหน้างาน ซึ่ง Template นี้จะมีช่อง Estimated คือการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เพื่อบริหารเงินไม่ให้งบเกินจากที่ตั้งไว้ และมีช่อง Actual ให้เราได้กรอก คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงครับ

ซึ่งช่องรายได้ใน Template นี้จะยังไม่ใส่รายได้จากค่าซองงานแต่งและรายจ่ายที่เป็นค่าสินสอดครับ

Template การวางแผนค่าใช้จ่ายงานแต่ง สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel ได้ง่าย ๆ จาก Microsoft และนำไฟล์มาปรับแต่งรายละเอียดให้เข้ากับงานของเราได้ครับ

ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องเร่งให้การแต่งงานเร็วขึ้น บางคนอาจมองหาสินเชื่อส่วนบุคคล แนะนำที่ได้ดอกเบี้ยต่ำ และไม่ยุ่งยากในการขอสินเชื่อครับ เช่น สินเชื่อ Krungsri iFIN ที่สามารถยื่นกู้ได้ง่ายผ่านมือถือ และได้วงเงินสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้

 

2. ควรมีบัญชีเก็บเงินงานแต่งโดยเฉพาะ


การเก็บเงินคือขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้งานแต่งเป็นไปได้ ช่องทางการเก็บเงินจึงควรแยกบัญชีออกมาต่างหาก อาจเป็นบัญชีออมทรัพย์ เพราะมีสภาพคล่องมากกว่า เผื่อเบิกถอนออกมาจ่ายค่ามัดจำต่าง ๆ ในงานแต่ง และควรเป็นบัญชีที่ต้องใช้ลายเซ็นต์ทั้งคู่ในการถอนเงินครับ
 

3. คอนเนคชั่น = สปอนเซอร์


หลายคนพบว่า คอนเนคชั่นเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยลดต้นทุนในการแต่งงาน หรือช่วยทำให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากขึ้น เช่น การมีเพื่อนเป็นกราฟฟิคดีไซน์ช่วยออกแบบการ์ดเชิญให้ในราคาประหยัด การมีเพื่อนรู้จักช่างภาพเวดดิ้งที่มีฝีมือและคุณภาพสมราคา การมีเพื่อนรู้จักออแกไนเซอร์ที่รับจัดงานเล็ก ๆ หรือจัดดอกไม้งานแต่ง หรือการที่เรารู้จักช่างแต่งหน้าทำผมฝีมือดี เป็นต้น

9Dec2012@Pullman_1121+.jpg

4. แยกงานผู้ใหญ่ กับงานเด็ก


ต้องยอมรับครับว่า งานแต่งงานเป็นความคาดหวังของคนหลายฝ่าย ไม่ใช่แต่เฉพาะเจ้าบ่าวเจ้าสาวอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับทางผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายด้วย ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจทำให้งบบานปลาย จึงเริ่มมีคนนิยม “จัดงานหมั้นเช้า จัดงานแต่งบ่าย” เพื่อแยกกลุ่มแขกเหรื่อในงาน ให้งานเช้าเป็นงานที่ให้เกียรติผู้ใหญ่ให้มาเป็นสักขีพยาน ส่วนงานบ่ายก็เป็นงานที่เพื่อนของคู่บ่าวสาวได้ปาร์ตี้กันไป ด้วยบรรยากาศที่เรียบง่ายแต่เป็นกันเอง ซึ่งหลายครั้งจะพบว่าการจัดงานแนวนี้ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายไปเยอะเลยครับ
 

5. เซฟค่าอาหารในงาน อย่ามองผ่าน ‘สตรีทฟู้ด’


สตรีทฟู้ดบ้านเราบางร้านเป็นระดับมิชลินสตาร์ แถมได้รับการยกย่องจากต่างชาติว่าเด็ดสุด ๆ การจัดงานแต่งแบบเน้นสตรีทฟู้ด ช่วยให้เราได้คัดสรรอาหารจากร้านที่น่าทานและรสชาติดีจริง ๆ รวมกันสักไม่เกินสิบร้านก็น่าจะสร้างความพึงพอใจให้แขกในงานได้มากกว่าโต๊ะจีนครับ
 

6. งานเล็กหรือใหญ่ ก็ทำให้ ‘ประทับใจ’ ได้


สังเกตไหมครับ ความเล็กหรือใหญ่ของงาน ไม่ได้เป็นตัววัดความประทับใจที่เรามีต่องาน ๆ นั้นเสมอไป บางครั้งเราไปงานแต่งเพื่อนที่จัดขึ้นเล็ก ๆ แต่บรรยากาศเป็นงานแต่งในฟาร์มสเตย์เก๋อย่าบอกใคร มีแขกไม่เกินสามสิบคน แต่ก็จัดออกมาให้ดูอบอุ่นประทับใจจนอยากบอกต่อ
หากเราเน้นจัดงานเล็ก อาจทำให้ควบคุมบรรยากาศของงานได้ดีกว่า โดยอาจจะไม่ต้องอาศัยวิดีโอพรีเซนเทชั่นใด ๆ เลยก็ได้

26January2015_1@Laanatu_00578+.jpg

สำหรับคู่รักที่มีงบประมาณไม่มากนัก อาจต้องลดค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่สามารถประหยัดได้ เช่น การเลือกสถานที่จัดงานในสวนหรือร้านอาหาร แทนการจัดงานในโรงแรมที่มีราคาสูง วางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดงานด้วยตนเองโดยไม่ต้องจ้างออแกไนเซอร์ เน้นเชิญครอบครัวและเพื่อนสนิทมาร่วมงาน อย่านำเงินก้อนไปทุ่มเทกับการจัดงานแต่งงานครั้งเดียวจนหมด

เพราะแม้ว่าการแต่งงานจะเป็นวาระสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ที่สำคัญกว่าคือภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวหลังการแต่งงาน

เมื่อคู่รักกลายเป็นครอบครัว ยิ่งถ้ามีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มขึ้นมาด้วยแล้ว นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในทุกส่วน ก็ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการเงินให้รอบคอบตั้งแต่ก่อนแต่ง เพราะในระยะยาวยังต้องมีค่ารถคันใหม่หรือบ้านหลังใหม่ ค่าเทอมของลูกที่เพิ่มเข้ามา รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเมื่อลูกเจ็บป่วยครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/วางแผน-เตรียมเงิน-แต่งงาน-ใช้เท่าไหร่.html

bottom of page